DMCR NEWS

สุดฟิน โลมาปากขวดอินโดแปซิฟิกโผล่เล่นน้ำที่สิมิลัน

  • 14 มี.ค. 2560
  • 1,979
สุดฟิน โลมาปากขวดอินโดแปซิฟิกโผล่เล่นน้ำที่สิมิลัน

          พังงา - สุดฟิน โลมาปากขวดอินโดแปซิฟิก โผล่เล่นน้ำรอบเรือเจ้าหน้าที่หมู่เกาะสิมิลัน หน.อุทยานฯ เผยเกิดจากการคุมเข้มการเข้าใช้พื้นที่

          นายรวมศิลป์ มานะจงประเสริฐ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน กล่าวถึงการพบโลมาปากขวดจำนวนมากบริเวณหมู่เกาะสิมิล ัน ว่า วันนี้ (12 มี.ค.) ได้ส่งกำลังเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ออกลาดตระเวนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อ.คุระบุรี จ.พังงา เมื่อเดินทางมาถึงบริเวณกองหินปูซาร์ ระหว่างเกาะปายู (เกาะ 7) และเกาะสิมิลัน (เกาะ 8) ได้พบฝูงโลมาว่ายเข้ามาวนเวียนรอบเรือตรวจการณ์โดยไม ่ตื่น และหวาดกลัวแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่จึงได้หยุดเดินเครื่องเพื่อบันทึกภาพโลมา ทั้งบนผิวน้ำ และใต้น้ำ โดยโลมาฝูงดังกล่าวได้ว่ายวนเวียนให้เจ้าหน้าที่ได้ช มอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนจะดำดิ่งหายไปใต้ท้องทะเล อันดามัน

          ดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ หน.สัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน แหลมพันวา ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบลักษณะโดยรวมพบว่า ฝูงโลมาดังกล่าวเป็นฝูงโลมาปากขวดอินโดแปซิฟิก (Indo-Pacific Bottlenose dolphin) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tursiops aduncus เป็นโลมาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโลมาปากขวดธรรมดา มีผิวหนังสีน้ำเงินเข้มอมเทา สีจาง หรือบางครั้งอมชมพูด้านท้อง จะงอยปากค่อนข้างสั้นใหญ่ ครีบหลังขนาดค่อนข้างใหญ่ เป็นรูปโค้งอยู่กึ่งกลางหลัง

          ซึ่งจะแตกต่างจากโลมาปากขวด คือ มีจุดสีเทาเข้มเป็นประอยู่ด้านข้าง และด้านท้องลำตัว และมีขนาดเล็กกว่าโลมาปากขวด คือ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 1.9-2.3 เมตร เดิมทีเคยถูกจัดให้เป็นชนิดเดียวกันกับโลมาปากขวดธรร มดา จนกระทั่งในปี ค.ศ.1998 จึงได้รับการยอมรับให้แยกออกมาเป็นชนิดต่างหาก พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตอินโดแปซิฟิก กับมหาสมุทรอินเดีย เช่น ทะเลแดง ออสเตรเลียตอนเหนือ ทะเลจีนใต้ ชายฝั่งแอฟริกา ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทย และทะเลอันดามัน แต่ปัจจุบันพบได้น้อยลง และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและค ุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

          นายรวมศิลป์ มานะจงประเสริฐ กล่าวว่า กองหินปูซาร์ เป็นกองกินที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ มีลักษณะคล้ายรูปหัวกะโหลก ด้านล่างเหมือนหุบเขาใต้ทะเลที่เต็มไปด้วยปะการังอ่อ น กัลปังหารูปพัดหลากสีสัน ฝูงปลานานาพันธุ์ และเป็นจุดที่นักดำน้ำสามารถพบเห็นปลากระเบนราหู เต่า หรือฉลามวาฬ ได้มากที่สุดแห่งหนึ่งในหมู่เกาะสิมิลัน ซึ่งคาดว่าสาเหตุที่ช่วงนี้มีปลาขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น วาฬสีน้ำเงิน วาฬเพชฌฆาต หรือโลมาปากขวด เข้ามาหากินในเขตอุทยานฯ เป็นจำนวนมากน่าจะเกิดจากแพลงก์ตอน และปลาขนาดเล็กที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากกรมอุทยานฯ ได้เพิ่มมาตรการในการป้องกันการทำลายทรัพยากรที่เข้ม ข้นขึ้น ทำให้ทรัพยากรใต้ทะเลได้ฟื้นฟูตัวเอง

ที่มา  ผู้จัดการออนไลน์

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

เมนูสำหรับผู้พิการ
restart_alt
close
การปรับแต่งเนื้อหา
format_size
ปรับขนาดตัวอักษร
remove
ปกติ
add
การปรับแต่งสี
เครื่องมือ